3) พาเรงคิมาแบบแถบ (Banded parenchyma)
หมายถึง เส้นแนวหรือแถบพาเรงคิมาที่ปรากฎในแนวสัมผัส และเป็นพาเรงคิมาที่ไม่อยู่ติดกับพอร์ จะเห็นเป็นสีจางกว่าเนื้อไม้ มีแนวทางไปตามแนวของวงปีโดยมีจุดศูนย์กลางร่วมกัน (concentric) คือใจไม้ (pith)
พาเรงคิมาแบบแถบ (Banded parenchyma)
แบ่งออกเป็น 5 ลักษณะ ได้แก่
3.1) Axial parenchyma bands more than three cells wide
3.2) Axial parenchyma narrow band or lines up to three cells wide
3.3) Axial parenchyma reticulate
3.4) Axial parenchyma scalariform
3.5) Axial parenchyma in marginal or in irregularly marginal bands
หมายถึง เส้นแนวหรือแถบพาเรงคิมาที่ปรากฎในแนวสัมผัส และเป็นพาเรงคิมาที่ไม่อยู่ติดกับพอร์ จะเห็นเป็นสีจางกว่าเนื้อไม้ มีแนวทางไปตามแนวของวงปีโดยมีจุดศูนย์กลางร่วมกัน (concentric) คือใจไม้ (pith)
พาเรงคิมาแบบแถบ (Banded parenchyma)
แบ่งออกเป็น 5 ลักษณะ ได้แก่
3.1) Axial parenchyma bands more than three cells wide
3.2) Axial parenchyma narrow band or lines up to three cells wide
3.3) Axial parenchyma reticulate
3.4) Axial parenchyma scalariform
3.5) Axial parenchyma in marginal or in irregularly marginal bands
3.1) Axial parenchyma bands more than three cells wide
พาเรงคิมาแบบแถบกว้าง หรือ Broad conspicuous band เซลล์พาเรงคิมาเรียงตัวด้านกล้าวมากกว่า 3 เซลล์ หรือมีลักษณะเป็นพาเรงคิมาแบบแถบแต่มีขนาดใหญ่กว่า คือ มีขนาดเท่ากับพอร์ของเนื้อไม้ชนิดนั้นขึ้นไปเรียกว่า broad conspicuous band เช่น ไม้สมอพิเภก ขะเจ๊าะหรือสาธร ไทร แซะ เป็นต้น
Axial parenchyma narrow band or lines up to three cells wide
เซลล์เรียงตัวด้านกว้าง 1-3 เซลล์ หากเรียงตัวเป็นเส้นเล็กๆ เรียกว่า fine line เช่น ในไม้ประดู่ (Pterocarpus sp.)
ข้อสังเกตเพิ่มเติม Fine line และ Broad bands แตกต่างจาก ตรงที่ความยาวของเส้น parenchyma ตัดผ่าน ray หลายอัน ส่วน diffuse-in-aggregates นั้นจำกัดอยู่ระหว่าง ray ต่อ ray
พาเรงคิมาแบบตาข่าย คือลักษณะขนาดและระยะห่างของพาเรงคิมาแบบแถบและขนาดเส้นเรย์ มีขนาดเท่ากันหรือใกล้เคียง ทำให้เกิดเป็นลักษณะเป็นตารางสี่เหลี่ยมเกิดขึ้น เช่น ไม้ตองจิง หรือ มะปิน (Pterygota allata R.Br. Syn. Sterculia alata Roxb.) และไม้เขล็ง (Dialium cochinchinensis Pierre.) เป็นต้น
![]() |
พาเรงคิมาแบบบันได คือ ลักษณะของขนาดพาเรงคิมาแบบแถบกับขนาดของเส้นเรย์ มีขนาดไม่เท่ากันหรือแตกต่างกันอย่างชัดเจน แต่มองเห็นตัดกันเป็นรูปสี่เหลี่ยม เช่น ไม้ไทร (Ficus sp.)
พาเรงคิมาแบบขอบ คือ ลักษณะเซลล์พาเรงคิมาที่อยู่ต่อเนื่องกันเป็นแนวยาวเป็นเส้นเล็กโดยรอบเช่นเดียวกับวงรอบปี เกิดต้นฤดูการเจริญเติบโต เรียกว่า พาเรงคิมาต้นฤดู (Initial parenchyma) และถ้าเกินในระยะปลายฤดูหรือสิ้นสุดฤดูการเจริญเติบโต เรียกว่า พาเรงคิมาปลายฤดู (Terminal parenchyma) เช่น ไม้จำปาป่า (Michelia sp.) มะค่าโมง (Afzelia xylocarpa)