ลักษณะอื่นที่ใช้ในการตรวจพิสูจน์ไม้

ลักษณะอื่นที่ใช้ในการตรวจพิสูจน์ไม้
    คือลักษณะโครงสร้างอื่นที่สามารถมองเห็นได้ด้วยตาเปล่าหรือแฮนด์เลนส์ ได้แก่
    1) โพลเอ็มในไม้ (Included phloem) 
    2) ท่อระหว่างเซลล์ (Intercellular canals

1) โพลเอ็มในไม้ (Included phloem)
    ณรงค์ (2527) Include phloem คือ กลุ่มหรือแนวของ phloem ที่รวมอยู่เป็นกระจุกในเนื้อไม้ (secondary xylem) เชื่อกันว่า เป็นผลเนื่องมาจากการเจริญเติบโตอย่างผิดปรกติของ cambium จนกลายเป็นลักษณะของกรรมพันธุ์ของไม้บางชนิด เช่น กฤษณา ทองบึ้ง แสลงโทน แสลงใจ เป็นต้น


2) ท่อระหว่างเซลล์ (Intercellular canals)
    หมายถึง ท่อระหว่างเซลล์ที่บรรจุผลผลิตรอง เช่น ยางนำ้มันไม้ (rasins) ยางไม้ (gums) ลักษณะนี้เรียกอีกชื่อว่า ท่อยางไม้ (gum duct) ท่อยางนำ้มันไม้ (rasin duct)
ประเภทที่สามารถมองเห็นได้ทางด้านหน้าตัดไม้ ด้วยตาเปล่า และแฮนด์เลนส์แบ่งตามการเรียงตัว ได้แก่
    2.1) ท่อเรียงต่อกันเป็นเส้นยาว  (Axial canals in long tangential lines)
    2.2) ท่อเรียงต่อกันเป็นเส้นสั้นๆ (Axial canals in short tangential lines)
    2.3) ท่อแบบกระจาย (Axial canals diffuse)
ข้อมูลเพิ่มเติม คำศัพท์ตามราชบัณฑิตยสถาน (2547)
    ท่อระหว่างเซลล์ intercellular canal
    ยางไม้ gum
    ท่อยางไม้         gum duct
    แถบท่อยางไม้ gum vein
    ชันสนจากยาง gum rosin
    นำ้มันสนจากยาง         gum spirit (s), gum turpentine
    ยางนำ้มันไม้ resin
    ท่อยางนำ้มันไม้ resin canal, resin duct
    ชันสน rosin, colophony
    นำ้มันชัน         rosin oil

    และ ณรงค์ (2527) Resin canals or Gum duct คือ ท่อยางหรือท่อชันนำ้มัน ที่มักพบในไม้หลายชนิดที่มีลักษณะที่เห็นได้ด้วยแว่นขยาย คือ ตรงรูปลักษณะเป็นคราบนำ้มัน และในบางชนิดในรูมีชันอุดอยู่ จะพบในไม้พวก Dipterocarpus spp., Shorea spp., Sindora spp. และ Anisoptera spp. เป็นต้น ที่เราเห็นได้ที่หน้าตัดไม้ คือ vertical rasin canal ซึ่งเป็นท่อนำ้มันชัน หรือยางที่มีแนวท่อตั้งตรงไปตามลำต้น ไม้บางชนิดจะมี  gum duct เรียงต่อไปเป็นเส้นยาวเรียกว่า gum vein เช่น ในไม้ตะเคียนทอง ไม้รัง เป็นต้น

ท่อเรียงต่อกันเป็นเส้นยาว (Axial canals in long tangential lines) 
    หมายถึง ลักษณะที่มองเห็นด้านหน้าตัดไม้ เห็นท่อยางไม้ (gum guct) ท่อยางน้ำมันไม้ (resin duct) ที่เรียงต่อกันเป็นเส้นยาวๆ
    ไม้สกุล Shorea เช่น เต็ง รัง พะยอม แอ็ก เป็นต้น ถือเป็นลักษณะเด่นของไม้ในวงศ์นี้ ซึ่งลักษณะที่พบนี้จะเรียกว่า แถบยางไม้ (gum vein)


ท่อเรียงต่อกันเป็นเส้นสั้นๆ (Axial canals in short tangential lines)
    หมายถึง ลักษณะที่มองเห็นด้านหน้าตัดไม้ เห็นท่อยางไม้ (gum duct) ท่อยางนำ้มันไม้ (rasin duct) ที่เรียงต่อกันเป็นเส้นสั้นๆ
    เป็นลักษณะเด่นของไม้สกุล Dipterocarpus เช่น ไม้ยางนา เหียง พลวง กราด ยูง ยางแดง เป็นต้น

ใหม่กว่า เก่ากว่า