เวสเซล (Vessels) หรือ พอร์ (Pores)

เวสเซล (Vessels) หรือ พอร์ (Pores)

Pores หรือ Vessels มีลักษณะเป็นรูอยู่ในเนื้อไม้มีขนาดเล็กใหญ่ตามแต่ชนิดไม้

เวสเซลหรือพอร์ เป็นเซลล์ที่มีลักษณะเป็นรูๆ อยู่ในเนื้อไม้ ทำหน้าที่ลำเลียงนำ้ แร่ธาตุ และอาหารในไม้ใบกว้าง (Hardwood)

ลักษณะของพอร์ที่สามารถมองเห็นและใช่ในการตรวจพิสูจน์ชนิดไม้ได้ด้วยแฮนด์เลนส์ ได้แก่

    1) เวสเซลหรือพอร์ (Presence of vessels)

    2) การกระจายของพอร์ (Porosity)

    3) การเรียงตัวของพอร์ (Vessel arrangement)

    4) รูปแบบการรวมกลุ่มของพอร์ (Vessel grouping)

    5) ขนาดความโตของพอร์ (Pores size)

    6) จำนวนของพอร์ในพื้นที่ตารางมิลลิเมตร (Vessel per square milimeter)

    7) สิ่งที่อยู่ในพอร์ (Inclusions in pores)


1) เวสเซลหรือพอร์ (Presence of vessels)

    หมายถึง ลักษณะโครงสร้างด้านหน้าตัดไม้มีเวสเซลหรือไม่มี ไม้ใบกว้าง (Hardwood) จะเห็นเวสเซลเป็นรูๆ หรือที่เรียกว่า พอร์ ส่วนไม้จำพวกสน (Softwood) เมื่อมองด้านหน้าตัดไม้จะไม่พบลักษณะโครงสร้างไม้เป็นรูๆ หรือ พอร์ (Wood Vesselless)


2) การกระจายของพอร์ (Porosity)

หมายถึง รูปแบบการกระจายของพอร์ในเนื้อไม้ด้านหน้าตัดไม้ แบ่งเป็น 3 แบบ คือ ไม้พอร์วง (Ring-porous wood) ไม้พอร์กระจาย (Diffuse-porous wood) และไม้พอร์กึ่งวง (Semi-ring-porous wood)


2.1) ไม้พอร์วง (Ring-porous wood ) คือ เนื้อไม้ที่พอร์มีลักษณะขนาดใหญ่ในเนื้อไม้ต้นฤดู (early wood) และมีพอร์มีลักษณะขนาดเล็กลงอย่างเห็นได้ชัดเจนในเนื้อไม้ปลายฤดู (late wood) ดังนั้นเนื้อไม้ที่มีรูปแบบการกระจายนี้จะทำให้เห็นลักษณะวงปีชัดเจน เช่น ไม้สัก ยมหอม เขยหลาย เลี่ยน เป็นต้น



2.2) ไม้พอร์กระจาย (Diffuse-porous wood) คือ เนื้อไม้ที่พอร์มีลักษณะขนาดเท่าๆกัน และกระจายกันอยู่อย่างสมำ่เสมอ เช่น ไม้ยาง เต็ง แดง มะค่าโมง



2.3) ไม้พอร์กึ่งวง (Semi-ring-porous wood) คือ เนื้อไม้ที่พอร์มีลักษณะคาบเกี่ยวกันระหว่างไม้พอร์วงและไม้พอร์กระจาย เป็นลักษณะที่ค่อนข้างยากในการสังเกต เช่น ไม้มะค่าแต้ อินทนิลบก ฝาง









ใหม่กว่า เก่ากว่า