การเรียงตัวของพอร์ (Vessel arrangement)

3) การเรียงตัวของพอร์ (Vessel arrangement)

    หมายถึง รูปแบบการเรียงตัวของพอร์ แบ่งได้ 3 ลักษณะ ได้แก่


    3.1) พอร์เรียงตัวเป็นแถบตามแนวด้านสัมผัส (Vessels in tangential bands or Tangential pores)

    3.2) พอร์เรียงตัวแนวเฉียง และ/หรือ เรียงตามแนวรัศมี (Vessels in diagonal and/or radial pattern)

    3.3) พอร์เรียงเป็นกลุ่ม (Vessels in dendritic pattern)


3.1) พอร์เรียงตัวเป็นแถบตามแนวด้านสัมผัส

คือ รูปแบบการเรียงตัวของพอร์เดี่ยวไปตามแนวเส้นสัมผัส หรือตามแนวตัดขวางกับเรย์ ซึ่งลักษณะเช่นนี้มีน้อยมากสำหรับไม้ในประเทศไทย แต่พอจะดูตัวอย่างได้จากไม้สำรอง



3.2) พอร์เรียงตัวแนวเฉียง และ/หรือ เรียงตามแนวรัศมี

    3.2.1) พอร์เรียงตัวแนวรัศมี  (Vessels in radial pattern)

คือ รูปแบบการเรียงตัวของพอร์เรียงตามแนวเส้นเรย์ เป็นลักษณะที่พบได้ส่วนใหญ่ของไม้ประเทศไทย เช่น ไม้ตะกู ตีนเป็ด ตีนเป็นแดง หากมีการเรียวต่อกันยาวๆ มากกว่า 4 พอร์ เรียกว่า พอร์โซ่ (Pores chain) เช่น ไม้ชากุล ไม้พิกุลป่า



3.2.2) พอร์เรียงตัวแนวเฉียง (Vessels in diagonal pattern or Oblique pores) คือ รูปแบบที่พอร์เรียงตัวต่อกันเป็นแนวเฉียง เช่น ไม้บุนนาค กระทังหัน คาง




3.3) พอร์เรียงแบบเป็นกลุ่ม

พอร์เรียงเป็นกลุ่ม (Vessels in dendritic patterns) คือ รูปแบบการเรียงตัวของพอร์เป็นกลุ่มๆ หรือเป็นชุดๆ เช่น ไม้สนประดิพัทธ์ ก่อ (Castanopsis spp.) 



ข้อสังเกตเกี่ยวกับความแตกต่างของลักษณะการเรียงตัวของพอร์แนวเฉียง และพอร์เรียงเป็นกลุ่มนี้ อาจจะยากในการแยกแยะพอสมควร หากสังเกตให้ดีจะพบว่า พอร์เรียงเป็นกลุ่ม จะต้องมีพื้นที่เว้นห่างพอสังเกตได้ว่าแบ่งเป็นกลุ่มๆ ได้

ใหม่กว่า เก่ากว่า